สถาบันอาหาร จัดตั้งขึ้นจากแนวคิดของภาครัฐ โดยกรมส่งเสริมการส่งออก กระทรวงพาณิชย์สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และภาคเอกชน
โดยกลุ่มอุตสาหกรรมอาหาร สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย เพื่อหาองค์กรที่ทำหน้าที่เป็นแกนนำในการพัฒนาอุตสาหกรรมอาหารควบคู่ไปกับการแก้ไขปัญหาและอุปสรรคต่อการพัฒนาภาคอุตสาหกรรมจึงได้มอบหมายให้สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (TDRI) ดำเนินการศึกษา เพื่อหาข้อเสนอแนะและความจำเป็นในการจัดตั้งองค์กรหรือหน่วยงานที่จะเป็นแกนนำในภารกิจดังกล่าว จากผลการศึกษา ได้มีข้อสรุปและเสนอแนะ ให้มีหน่วยงานใหม่ที่จะเป็นองค์กรนำในการพัฒนาภาคอุตสาหกรรมอาหารของประเทศไทย ในรูปแบบของ “สถาบัน”
มีภารกิจเป็นแหล่งให้บริการข้อมูลด้านการค้าและเทคโนโลยี การบริการด้านการตรวจวิเคราะห์ การประสานความร่วมมือเพื่อการแก้ไขปัญหา และยกระดับขีดความสามารถของอุตสาหกรรมอาหาร กอรป ในช่วงเวลาดังกล่าว กระทรวงอุตสาหกรรม มีดำริที่สอดคล้องและเป็นแนวทางเดียวกัน จึงได้นำเสนอเรื่องการจัดตั้ง “สถาบันอาหาร” เข้าสู่วาระการพิจารณาของคณะรัฐมนตรี
คณะรัฐมนตรีได้มีมติให้จัดตั้งสถาบันอาหารขึ้นเมื่อวันที่ 15 ตุลาคม พ.ศ.2539 ในรูปแบบ องค์กรเครือข่ายภายใต้อุตสาหกรรมพัฒนามูลนิธิ สังกัดกระทรวงอุตสาหกรรม ตามคำสั่งกระทรวงอุตสาหกรรมที่ 440/2539 ลงวันที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ.2539 เพื่อดำเนินงานส่งเสริมและพัฒนาอุตสาหกรรมอาหารของประเทศไทยให้เติบโตอย่างมีประสิทธิภาพและสามารถแข่งขันได้ในระดับโลก
วิสัยทัศน์ (Vision) : “เป็นองค์กรชั้นนำในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ โดยสร้างผู้ประกอบการอาหารด้วยนวัตกรรม ความคิดสร้างสรรค์ และเพิ่มมูลค่าอาหารเพื่อความยั่งยืน” (To be a leading organization driving the economy by fostering entrepreneurs through innovation, creativity, and value-added contributions for sustainability.)
พันธกิจ (Mission) :
- สร้างโอกาสและเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของผู้ประกอบการอาหารอย่างยั่งยืน (Create opportunities and enhance the competitiveness of food entrepreneurs sustainably.)
- บูรณาการความร่วมมือกับเครือข่ายและพันธมิตรในอุตสาหกรรมอาหารทั้งในและต่างประเทศ (Foster collaboration with networks and partners in the food industry, both domestically and internationally.)
- พัฒนาอุตสาหกรรมอาหารโดยใช้องค์ความรู้ นวัตกรรม ความคิดสร้างสรรค์ และเทคโนโลยีที่ทันสมัย เพื่อสร้างผลิตภัณฑ์มูลค่าสูง(Advance the food industry by leveraging knowledge, innovation, creativity and cutting-edge technology to develop high-value products.)
- ยกระดับสมรรถนะของบุคลากรในอุตสาหกรรมอาหารสู่ความเป็นเลิศ (Elevate the competencies of human resources in the food industry to excellence.)
- ชี้นำทิศทางและแนวทางการสร้างสรรค์อุตสาหกรรมอาหารในระดับสากล (Guide the direction and creative approaches for shaping the food industry at the global level .)
ค่านิยม (Core Values) : TASTE
Trust : สร้างความเชื่อมั่นและความไว้วางใจ
Agility : ปรับตัว ยืดหยุ่น รับมือการเปลี่ยนแปลง
Service Excellence: มุ่งเน้นการบริการลูกค้าที่เป็นเลิศ
Team Spirit : ทำงานเป็นทีมอย่างมืออาชีพ
Empathy: เข้าใจลูกค้าและผู้ที่กี่ยวข้อง
ความเชี่ยวชาญ จุดเด่น และ ผลงาน
ตลอดระยะเวลา 28 ปี ที่ผ่านมา สถาบันอาหารนับเป็นองค์กรหนึ่งที่มีบทบาทสำคัญในการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันให้กับผู้ประกอบการอาหารทุกระดับ ทั้งในมิติเรื่องระบบคุณภาพมาตรฐาน ความปลอดภัยอาหารการสร้างมูลค่าเพิ่มให้วัตถุดิบภาคการเกษตรของไทย การสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์บนพื้นฐานภูมิปัญญาไทยอัตลักษณ์ท้องถิ่น ให้ต่อยอดในเชิงพาณิชย์และจำหน่ายได้จริง การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตแบบยั่งยืน (Green Industry) รวมทั้งส่งเสริมการนำนวัตกรรมไปใช้ในการพัฒนา ปรับปรุงต่อยอดเป็นผลิตภัณฑ์อาหารมูลค่าสูง (High Value) มุ่งสู่การพัฒนาอาหารอนาคต เช่น อาหารฟังก์ชันนัล อาหารที่ดีต่อสุขภาพ อาหารสำหรับผู้สูงวัยหรือเด็ก อาหารที่ใช้เทคโนโลยีชีวภาพ อาหารโปรตีนทางเลือก เป็นต้น เพื่อยกระดับผลิตภัณฑ์อาหารของไทยให้สามารถแข่งขันได้ในเวทีโลกอย่างเต็มภาคภูมิ สถาบันอาหาร มีบริการที่ครบคลุมครบวงจรในทุกบริการที่ผู้ประกอบการเริ่มต้น (Start up) ไปจนถึงผู้ส่งออกขนาดใหญ่สามารถเลือกใช้บริการ เช่นการให้บริการห้องปฏิบัติการตรวจวิเคราะห์อาหารที่ได้มาตรฐาน ISO 17025 และบริการทางเทคนิคที่เกี่ยวข้อง เช่น การประเมินอายุผลิตภัณฑ์อาหาร การทดสอบความชำนาญโปรแกรมทดสอบด้านจุลินทรีย์และเคมี การสอบเทียบเครื่องมือวัดการพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหารแปรรูปด้วยห้องปฏิบัติการที่มีเครื่องจักรครบสามารถขยายผลสู่โรงงานขนาดเล็กผลิตสินค้าจำหน่ายได้จริง การให้คำปรึกษาด้วยประสบการณ์ที่คร่ำหวอดในโรงงานแปรรูปอาหาร ทำให้บุคลากรมีความเชี่ยวชาญสามารถให้คำแนะนำอย่างมืออาชีพ นอกจากนี้ยังมีเครือข่ายความร่วมมือกับหน่วยงานชั้นนำระดับประเทศทั้งในประเทศและต่างประเทศที่จะช่วยให้ผู้ประกอบการบรรลุเป้าหมายการพัฒนา

