สถาบันไทย-เยอรมัน จัดตั้งขึ้นโดยความร่วมมือระหว่างรัฐบาลไทย และรัฐบาลสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี มีวัตถุประสงค์เพื่อให้สถาบัน เป็นหน่วยงานที่มีประสิทธิภาพในการถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิตขั้นสูงสู่ภาค อุตสาหกรรมไทยการดำเนินงานของสถาบันฯ มีลักษณะการบริหารงานเป็นอิสระ และอยู่นอกระบบการศึกษาภายใต้การดูแลของกระทรวงอุตสาหกรรมโดยมีอุตสาหกรรมพัฒนามูลนิธิมารองรับการดำเนินงาน
หลังจากคณะรัฐมนตรีได้มีมติอนุมัติการจัดตั้งเมื่อเดือนกันยายน 2535 สถาบันฯเริ่มเปิดสำนักงานในปี พ.ศ. 2538 จนกระทั่งเริ่มให้มีบริการ ฝึกอบรมแก่ภาคอุตสาหกรรมครั้งแรกในเดือนมกราคม พ.ศ.2541 ตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมาสถาบันฯ ได้เจริญเติบโต อย่างต่อเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน
ภารกิจที่สถาบันไทย-เยอรมัน(TGI) ได้รับมอบหมายจากกระทรวงอุตสาหกรรม คือการถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิตขั้นสูงให้แก่ภาคอุตสาหกรรมเพื่อสนับสนุนและส่งเสริมขีดความสามารถในการแข่งขันให้แก่ภาคอุตสาหกรรมผ่านกิจกรรมหลักๆ คือ การฝึกอบรมและสัมมนา, การบริการอุตสาหกรรม, การวิจัยและพัฒนา, การวัดและทดสอบ, การให้คำปรึกษาด้านเทคโนโลยีและการบำรุงรักษา รวมถึงการให้บริการอื่นๆที่เดี่ยวข้องทางด้านเทคโนโลยี, การฝึกอบรมและสัมมนา, การบริการอุตสาหกรรม, การวิจัยและพัฒนา, การวัดและทดสอบ, การให้คำปรึกษาด้านเทคโนโลยีและการบำรุงรักษา, ระบบอัตโนมัติ
ความเชี่ยวชาญ จุดเด่น และ ผลงาน
วิสัยทัศน์ เป็นองค์กรนำในการขับเคลื่อนอุตสาหกรรมไทยสู่อุตสาหกรรมอนาคตด้วยเทคโนโลยีและนวัตกรรมการผลิตอัจฉริยะ
พันธกิจ
- เป็นศูนย์ออกแบบและพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตอัจฉริยะ
- เป็นศูนย์ทดสอบวัสดุ รับรองบุคลากรและเครื่องจักรที่ได้มาตรฐานระดับสากล
- สร้างเครือข่ายความร่วมมือ (Collaborative Solution Platform : CSP)เพื่อเป็นศูนย์กลางในการยกระดับความสามารถทางด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรมการผลิตอัจฉริยะ
- เป็นกลไกของภาครัฐและเอกชนในการปรับเปลี่ยนอุตสาหกรรมไทยไปสู่อุตสาหกรรมอนาคต
- พัฒนาบุคลากรให้มีสมรรถนะสูง ด้านระบบอัตโนมัติและหุ่นยนต์ ดิจิทัลเครื่องจักรกลและแม่พิมพ์เพื่อให้บริการอย่างมีคุณภาพและตรงตามความต้องการของลูกค้า6. พัฒนาระบบการทำงานและการบริการให้เป็นระบบอัจฉริยะที่มีประสิทธิภาพและประสิทธิผล
