IBDS

         ภาควิชาเคมี คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล เป็นสาขาหนึ่งที่ทำการสอนนักศึกษาเตรียมแพทย์ ทั้งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่และมหาวิทยาลัยมหิดล เนื่องจาก ศาสตราจารย์ ดร. สตางค์ มงคลสุข คณบดีคนแรกของคณะวิทยาศาสตร์ เป็นนักเคมีที่เข้าใจถึงความสำคัญของวิทยาศาสตร์พื้นฐานอย่างถ่องแท้จึงได้ ชักจูงนักศึกษาแพทย์หลายคนมาเป็นบัณฑิต มหาบัณฑิต ดุษฎีบัณฑิต และเป็นคณาจารย์ของภาควิชาเคมีในที่สุด โดยสาขาที่เปิดเป็นสาขาแรกคือเคมีอินทรีย์ ในระดับปริญญาโทและปริญญาเอก

          เน้นงานวิจัยเคมีของผลิตภัณฑ์ธรรมชาติ และอินทรีย์เคมีสังเคราะห์มาอย่างต่อเนื่อง และก้าวหน้าจนเป็นปึกแผ่นมี
ขีดความสามารถสูง ผลิตผลงานและบุคลากร ที่มีคุณภาพได้รับการยอมรับทั้งใน และต่างประเทศ

          ต่อมาได้เปิดสาขาฟิสิกส์เชิงเคมี และเคมีเชิงฟิสิกส์ ทำงานวิจัยในด้านเคมีทฤษฎีด้านจลนศาสตร์ และอุณหพลศาสตร์
ต่อมาภาควิชาเคมีได้เล็งเห็นความจำเป็นในการผลิตนักเคมีเชิงประยุกต์ เพื่อตอบสนองความต้องการในการพัฒนาอุตสาหกรรมของประเทศ จึงได้เปิดหลักสูตรมหาบัณฑิตสาขาวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีพอลิเมอร์ สาขาเคมีวิเคราะห์ และตามด้วยเคมีอนินทรีย์ประยุกต์โดยมุ่งศึกษาและปรับเปลี่ยนสมบัติ และลักษณะของวัสดุจำพวกพอลิเมอร์ ผลึกเหลว เซรามิกส์ขั้นสูงเพื่อปรับปรุงสมบัติให้ดีขึ้น รวมทั้งทำการวิเคราะห์ธาตุที่มีปริมาณน้อยและสารต่างๆ และค้นคว้าวิจัยเพื่อพัฒนาเทคนิคการวิเคราะห์ให้มีประสิทธิภาพดียิ่งขึ้น

          ปัจจุบันได้เปิดสาขา เคมีอนินทรีย์ซึ่งมุ่งศึกษาการสังเคราะห์ตัวเร่งปฏิกิริยาในอุตสาหกรรมภาควิชาเคมี คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล มีความพร้อมในทุกๆ ด้าน มีอุปกรณ์เครื่องมือวิทยาศาสตร์ คอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศที่ทันสมัย และที่สำคัญคือมีบุคลากรที่มีคุณภาพสูงคณาจารย์หลายคนได้รับรางวัลเชิดชูเกียรติทั้งการสอนและการวิจัย เช่น รางวัลนักวิทยาศาสตร์ดีเด่นรางวัลนักเทคโนโลยีดีเด่น, รางวัลสภาวิจัยแห่งชาติ, รางวัลผลงานประดิษฐ์คิดค้น รางวัลผลงานวิจัยเกียรติยศ สกว. ได้รับการสนับสนุนจากแหล่งทุนวิจัยทั้งในและต่างประเทศอย่างสม่ำเสมอ

          ภาควิชาเคมีได้พัฒนาและปรับปรุงหลักสูตรในทุกระดับอย่างต่อเนื่อง เน้นการเรียนการสอนทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติ ตลอดจนการฝึกและการดูงานในโรงงานอุตสาหกรรม บัณฑิตจาก เคมี-มหิดล จึงมีคุณภาพสูงเป็นที่ยอมรับในทุกวงการทั้ง
7 สาขาของภาควิชาเคมี

 ความเชี่ยวชาญ จุดเด่น และ ผลงาน

         ผลงานวิจัยและพัฒนาที่มีคุณภาพระดับสากลและตอบโจทย์ด้านเคมีที่เป็นปัญหาของประเทศไทยและของโลก โดยเน้นการวิจัยทั้งแบบพื้นฐานและสหสาขาวิชา อาทิเช่น

  • ผลของไอออนอะซิเทด และไออนไนเตรดต่อปฏิกิริยาแรดิคัลและปฏิกิริยาการแทรกระหว่างชั้นของคอฟเปอร์- ซิงค์ไฮดรอกซี ดับเบิ้ลซอลท์
  • การสังเคราะห์สารอนุพันธ์เตตราโซโล[1,5-a]ควิโนลีน (Tetrazolo[1,5-a]quinolines)
  • อนุพันธ์ของกรดอีลาจิก (Ellagic acid derivative) ชนิดใหม่ จากใบและกิ่งของกระบก Irvingia malayana
  • ปฏิกิริยาฮาโลจิเนชันของสารประกอบ imidazo[1,2-a]pyridines
  • สารสกัดจากใบมันสำปะหลังเพื่อยับยั้งการกัดกร่อนและการเกิดตะกรันในระบบน้ำหล่อเย็น
  • ผลของวัตถุเจือปนอาหารที่มีต่อการพองของชั้นเคลือบในกะทิกระป๋องประเภททินเพลท
  • ผลของความเข้มข้นและอุณหภูมิที่มีต่อประสิทธิภาพในการยับยั้งการกัดกร่อนของสารสกัดสีเสียดเทศในน้ำหล่อเย็น
  • การเตรียมคอลลอยด์ของอนุภาคนาโนทองคาในสารชีวภาพ ด้วยกระบวนการจุดติดพลาสมาในของเหลวและศึกษาผลของชนิดของพอลิเมอร์ชีวภาพต่อความเข้ากันได้กับเซลล์และฤทธิ์ยับยั้งเซลล์มะเร็ง
  • การสังเคราะห์นาโนคาร์บอนที่อุดมไปด้วยหมู่อะมิโน ด้วยกระบวนการจุดติดพลาสมาในของเหลวสำหรับใช้เป็นตัวดูดซับไอออนของโลหะทรานซิชัน
  • การสังเคราะห์นาโนคาร์บอนสำหรับใช้ในแบตเตอรี่ลิเทียม-แอร์ด้วยกระบวนการจุดติดพลาสมาในของเหลว
  • การควบคุมโครงสร้างแบบง่ายของอนุภาคพอลิเมอร์ซิงค์ออกไซด์ขนาดนาโน
  • ผ่านกระบวนการมินิอิมัลชันพอลิเมอไรเซชัน: อิทธิพลของกลไกทางจลศาสตร์และการป้องกันรังสี UV
  • การใช้น้ำสมสายชูแอปเปิ้ลไซเดอร์เพื่อเพิ่มสมบัติการต้านเชื้อราของกาวน้ำซึ่งเตรียมจากแป้งลำต้นสับปะรด
  • การกำจัด 2-คลอโรฟีนอลในน้ำด้วยกระบวนการเร่งปฏิกิริยาเชิงแสงโดยใช้แคลเซียมเฟอร์ไรท์ที่เตรียมจากเปลือกไข่
  • การวิเคราะห์มวลโมเลกุลของกาวน้ำเตรียมจากแป้งลอเรตที่ไม่ชอบน้ำ
  • ความเป็นกรดและโครงสร้างผลึกของซิงค์ไฮดรอกไซด์ไนเตรดซึ่งส่งผลต่อ
    ปฏิกิริยาเมทาโนไลซิสของน้ำมันถั่วเหลือง
  • การเพิ่มประสิทธิภาพการตรวจวัดความชื้นของวัสดุคอมโพสิตไทเทเนียมไดออกไซด์
    /แผ่นนาโนกราฟิติกคาร์บอนไนไตรด์
  • ประสิทธิภาพการเป็นวัสดุเร่งปฏิกิริยาเชิงแสงของวัสดุคอมโพสิตกราฟิติกคาร์บอนไนไตรด์
    เติมโบรอนตรึงบน เอสบีเอ-15 ทดสอบการย่อยสารเตดตระไซคลีน