อุตสาหกรรมพัฒนามูลนิธิ สถาบันพลาสติก เป็นสถาบันเครือข่ายเฉพาะทางลำดับที่ 8 ภายใต้อุตสาหกรรมพัฒนามูลนิธิ กระทรวงอุตสาหกรรม ที่ได้รับการอนุมัติการจัดตั้งด้วยมติคณะรัฐมนตรีในวันที่ 16 พฤศจิกายน 2553 พร้อมหลักยุทธศาสตร์การพัฒนาอุตสาหกรรมพลาสติก อันประกอบไปด้วย
- ยุทธศาสตร์ที่ 1 : การพัฒนาเทคโนโลยีและการจัดการ
- ยุทธศาสตร์ที่ 2 : การเพิ่มขีดความสามารถทางการตลาด
- ยุทธศาสตร์ที่ 3 : การสร้างฐานข้อมูลอุตสาหกรรมพลาสติก
สถาบันพลาสติกจึงมีหน้าที่สนับสนุนการพัฒนาอุตสาหกรรมพลาสติกของประเทศไทยในระยะยาว ร่วมกับภาครัฐภาคการศึกษาและภาคเอกชน ที่เกิดขึ้นโดยความร่วมมือจากภาครัฐในการสนับสนุนงบประมาณเพื่อดำเนินโครงการและภาคเอกชนในการสนับสนุนงบประมาณเพื่อการบริหารจัดการภายใน โดยมีหลักการดำเนินงานและจุดมุ่งหมายเพื่อการพัฒนาอุตสาหกรรมพลาสติกของประเทศไทยให้มีความเข้มแข็งและยั่งยืน
ความเชี่ยวชาญ จุดเด่น และผลงาน
ฝ่ายข้อมูลและวิจัยอุตสาหกรรมพลาสติก (Plastics Market Intelligent Department)
- ศูนย์ข้อมูลและวิจัยตลาดอุตสาหกรรม (Plastics Intelligent Center) จัดทำฐานข้อมูลในอุตสาหกรรมพลาสติกให้มีความทันสมัยเป็นปัจจุบันและสามารถนำมาใช้ในการตัดสินใจในการกำหนดกลยุทธ์และนโยบาย รวมถึงแผนธุรกิจสำหรับสมาชิกและผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมพลาสติกของประเทศไทย และผลิตสิ่งตีพิมพ์ อาทิ วารสาร Plastics Foresight, Special Report, Facts & Figure เป็นต้น
- ศูนย์การจัดการอย่างยั่งยืน (Sustainability Center) ประสานงานระหว่างประเทศตามความรับผิดชอบหลัก สนับสนุนดูแลการทำงานของคณะกรรมการ ASEAN Federation of Plastics Industries, คณะกรรมการเพิ่มศักยภาพการแข่งขันอุตสาหกรรมพลาสติกไทย และคณะกรรมการพัฒนาอุตสาหกรรมพลาสติกไทยอย่างยั่งยืน อีกทั้งยังสนับสนุนกิจกรรมต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับด้านการต่างประเทศตามที่ได้รับมอบหมายจากสถาบันพลาสติก รวมทั้งร่วมมือกับโครงการความร่วมมือภาครัฐ ภาคธุรกิจ ภาคประชาสังคม เพื่อการจัดการขยะพลาสติกและขยะอย่างยั่งยืน (PPP Plastic)

ฝ่ายพัฒนาวัสดุและการทดสอบพลาสติก (Material Development and Testing Department)
- ศูนย์พัฒนาวัสดุอุตสาหกรรม (Industrial Material Development Center) ส่งเสริมสนับสนุนและพัฒนาการวิจัยวัสดุอุตสาหกรรมให้ผู้ประกอบการมีศักยภาพในการประกอบกิจการและเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันและเพิ่มมูลค่า ให้ผู้ประกอบการมีสมรรถนะและขีดความสามารถในการประกอบการที่เป็นเลิศและมีความยั่งยืนสู่สากล
- ศูนย์ทดสอบและรับรอง (Testing & Certification Center) บริการด้านทดสอบงานตัวอย่างพลาสติกให้กับลูกค้า ให้คำปรึกษาด้านงานบริการทดสอบ ตรวจโรงงานตามประกาศของสถาบัน รวมถึงสนับสนุนการรวบรวมศึกษาค้นคว้าวิเคราะห์ข้อมูลของโครงการต่างๆ ที่เกี่ยวกับอุตสาหกรรมพลาสติกและอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้อง เพื่อการพัฒนาอุตสาหกรรมพลาสติกอย่างยั่งยืน
ฝ่ายพัฒนาผู้ประกอบการและนวัตกรรมพลาสติก (Entrepreneur Development and Innovation Department)
- ศูนย์ออกแบบและพัฒนานวัตกรรมพลาสติก (Plastics Development & Design Center) บริการด้านการพัฒนาผลิตภัณฑ์พลาสติกแก่ผู้ประกอบการ โดยดำเนินการให้บริการตั้งแต่ให้คำปรึกษาเกี่ยวกับการเลือกใช้วัสดุดิบ การเลือกวิธีการขึ้นรูป การออกแบบแม่พิมพ์ จนถึงการทดลองขึ้นรูปต้นแบบผลิตภัณฑ์ตามที่ต้องการ นอกจากนั้นยังส่งเสริมและสนับสนุนผู้ประกอบการที่ต้องการผลิตผลิตภัณฑ์พลาสติกเพื่อทดแทนการนำเข้า หรือส่งเสริมการส่งออกผลิตภัณฑ์ที่มีการประยุกต์ใช้นวัตกรรมอีกด้วย
- ศูนย์พัฒนาบุคลากรพลาสติก (Plastics Training Center) ดำเนินงานพัฒนาบุคลากรในอุตสาหกรรมพลาสติกไทยให้มีศักยภาพสูงยิ่งขึ้น ผ่านการจัดอบรมสัมมนาต่างๆ รวมทั้งจัดทำหลักสูตรเฉพาะทางเพื่อพัฒนาประสิทธิภาพของบุคลากรในอุตสาหกรรมและผู้ที่สนใจจะก้าวเข้าสู่อุตสาหกรรมพลาสติกอีกด้วย ทั้งทางภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติ หรือจัดหลักสูตรพิเศษสำหรับผู้ที่สนใจรับการฝึกอบรม ณ สถานประกอบการ รวมทั้งดำเนินกิจกรรมทางการตลาดต่างๆ นอกจากนั้นยังมีการดำเนินกิจกรรมเพื่อสังคม (CSR) เพื่อแบ่งปันความรู้ ประสบการณ์ และเสริมสร้างความรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อม
- ศูนย์พัฒนาการจัดการโรงงานพลาสติก (Plastics Factory Development Center) สนับสนุนโครงการที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาการจัดการโรงงานพลาสติกภายใต้พันธกิจของสถาบัน รวมถึงให้คำปรึกษาแก่ผู้ประกอบการและบุคคลทั่วไป เกี่ยวกับข้อมูลในเชิงเทคนิคและเชิงการพัฒนาการจัดการโรงงาน พร้อมทั้งเตรียมความพร้อมทางด้านเครื่องแปรรูปพลาสติกและอุปกรณ์สนับสนุน ให้พร้อมสำหรับสนับสนุนกิจกรรมต่างๆ และแนวทางการลดต้นทุนและลดใช้พลังงานลของสถานประกอบการ





