ในยุคปัจจุบันที่เทคโนโลยีได้เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตประจําวันและเข้ามาเปลี่ยนแปลงวิถีชิวิตของทุกๆคน เช่น การเข้ามาของสื่อออนไลน์ส่งผลให้พฤติกรรมการใช้ชีวิตของผู้คนเปลี่ยนแปลงไปเกิดการใช้จ่ายของผู้บริโภคผ่าน แพลตฟอร์มออนไลน์และเกิดความต้องการของผู้บริโภคที่จะต้องตอบสนองความต้องการเฉพาะบุคคล (personalized) เพิ่มมากขึ้น นอกจากนี้กระแสสังคมยังให้ความสําคัญกับการดูแลรักษาสิ่งแวดล้อม เช่น เรื่อง ภาวะโลกร้อน (Carbon emission Agenda) ที่ภาคธุรกิจไทยต้องให้ความสําคัญ จากตัวอย่างที่กล่าวมานี้ส่งผลให้ ภาคธุรกิจของไทยมีความจําเป็นต้องปรับตัวเพื่อความอยู่รอดและสร้างความมั่นใจว่าจะสามารถเติบโตในระยะยาวได้ ภาคธุรกิจไทยไม่เพียงแต่ต้องรับมือกับเทคโนโลยีใหม่ แต่ยังต้องคํานึงถึงรูปแบบการใช้ชีวิตของผู้คนในสังคมที่ เปลี่ยนแปลงไป การที่สังคมให้ความสําคัญและเข้าร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการดําเนินการด้านสังคมและสิ่งแวดล้อม รวมทั้งการดําเนินธุรกิจให้เป็นไปตามกฎหมายใหม่ๆที่จะออกมาด้วย ตัวอย่างปัจจัยสําคัญที่อาจเป็นทั้งภัยคุกคาม และเป็นโอกาสที่ส่งผลต่อภาคธุรกิจของไทยที่ควรจะต้องคํานึงถึงมีดังนี้


1. การเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยี


เทคโนโลยีเป็นปัจจัยสําคัญที่ส่งผลต่อการดําเนินธุรกิจ ตั้งแต่การพัฒนาผลิตภัณฑ์หรือนวัตกรรม การปรับปรุงเพื่อ เพิ่มประสิทธิภาพในกระบวนการผลิต ระบบบริหารจัดการด้านการขนส่งจนถึงการตลาด ในปัจจุบันภาคธุรกิจไทย ได้มีการปรับตัวและนําเทคโนโลยีเข้ามาปรับใช้ในธุรกิจเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันจนไปถึงการสร้าง ธุรกิจใหม่ๆ ยกตัวอย่างเช่น การใช้ข้อมูลขนาดใหญ่ (Big Data) มาใช้ประโยชน์ในทางการตลาด การบริการลูกค้า การจัดการคลังสินค้า หรือการใช้เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (AI) มาเป็นผู้ช่วยในการให้บริการ เป็นต้น อย่างไรก็ ตามการนําเทคโนโลยีมาใช้ยังอยู่ในวงจํากัด เนื่องจากผู้ประกอบการไทยยังขาดความรู้ ความเข้าใจ ขาดเงินลงทุน รวมทั้งยังมีข้อจํากัดในการเข้าถึงเทคโนโลยีและนวัตกรรมต่างๆที่พัฒนาโดยภาครัฐ


2. พฤติกรรมผู้บริโภคที่เปลี่ยนแปลงสู่ความต้องการประสบการณ์เฉพาะบุคคล (Personalized Experience)


พฤติกรรมผู้บริโภคสมัยใหม่เปลี่ยนไปอย่างชัดเจนจากการที่ผู้บริโภคต้องการสินค้าหรือบริการที่ตรงกับความ ต้องการเฉพาะบุคคลมากขึ้น การสร้างประสบการณ์ให้กับลูกค้าเฉพาะรายจึงกลายเป็นสิ่งที่ธุรกิจไทยไม่สามารถ มองข้ามได้อีกต่อไปและในหลายองค์กรเริ่มให้ความสําคัญกับเรื่องนี้ ตัวอย่างเช่น ธุรกิจอีคอมเมิร์ซในประเทศไทยที่นําข้อมูลการซื้อของลูกค้าเฉพาะรายมาช่วยวิเคราะห์พฤติกรรมการใช้จ่าย ความชอบ เพื่อนําเสนอสินค้าที่คาดว่า ลูกค้าจะสนใจ เพื่อเพิ่มยอดขายหรือลดอัตราการคืนสินค้า ในธุรกิจร้านอาหารหรือบริการสุขภาพก็เริ่มใช้ข้อมูล ด้านสุขภาพของลูกค้าเฉพาะรายในการรังสรรค์เมนูสุขภาพหรือรูปแบบการให้บริการด้านสุขภาพใหม่ๆตอบสนอง ความต้องการของลูกค้าที่ให้ความสําคัญกับสุขภาพและต้องการอาหารเฉพาะเจาะจงมากขึ้น เพื่อสร้างความพึงพอใจและสร้างความผูกพันระหว่างลูกค้าและธุรกิจ

รูปภาพ


3. การให้ความสําคัญด้านสิ่งแวดล้อมและความยั่งยืน

จากปัญหาด้านสิ่งแวดล้อม เช่น ปัญหาด้านมลพิษทางอากาศ (PM 2.5) น้ําเสีย ขยะ ภัยธรรมชาติต่างๆ ทําให้ สังคมตระหนักและให้ความสําคัญกับการรักษาสิ่งแวดล้อมและเข้ามามีส่วนร่วมในการรักษาสิ่งแวดล้อมในรูปแบบ ต่างๆ การเข้ามามีส่วนร่วมที่สําคัญอย่างหนึ่งคือการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการอนุรักษ์ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมหรือผลิตภัณฑ์ที่ช่วยลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม การปรับตัวของธุรกิจไทยในด้านนี้จะไม่ เพียงแค่เป็นการตอบสนองต่อกระแสความต้องการเท่านั้น แต่ยังเป็นการสร้างภาพลักษณ์เชิงบวกให้กับธุรกิจใน ระยะยาว โดยในการปรับตัวของธุรกิจที่หันมาใช้วัตถุดิบที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ปรับปรุงกระบวนการผลิตเพื่อลด การปล่อยก๊าซเรือนกระจก หรือใช้บรรจุภัณฑ์ที่สามารถรีไซเคิลได้

จากตัวอย่างที่ได้กล่าวไปแล้วจะเห็นว่าในแต่ละช่วงเวลาของการดําเนินธุรกิจอาจจะมีปัจจัยใหม่ๆที่อาจส่งผลต่อธุรกิจโดยที่ธุรกิจมีความจําเป็นต้องปรับตัวให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงเครื่องมือที่ภาคธุรกิจชั้นนําได้นํามาใช้อยา่ง แพร่หลายในช่วงหลายปีที่ผ่านมาคือการคาดการณ์อนาคตเชิงกลยุทธ์ (Strategic Foresight) จากผลการสํารวจผู้บริหารระดับสูงของบริษัทชั้นนําในยุโรปและสหรัฐอเมริกาในปี 2020 ซึ่งจัดทําโดย Nuremberg Institute of Market Decisions (NIM) พบว่ามากกว่าร้อยละ 90 มีการนําการคาดการณ์อนาคตเชิงกลยุทธ์ (Strategic Foresight) มาปรับใช้ในองค์กรของตนเองและร้อยละ 34 ของบริษัทเหล่านี้ตั้งหน่วยงานที่รับผิดชอบด้านนี้ โดยตรงและบริษัทส่วนใหญ่ก็ถ่ายทอดกลยุทธ์ที่ระบุในแผนการคาดการณ์อนาคตเชิงกลยุทธ์ลงไปเป็นส่วนหนึ่งของกลยุทธ์ของฝ่ายงานที่เกี่ยวข้อง ดังนั้นการคาดการณ์อนาคตเชิงกลยุทธ์จึงเป็นเครื่องมือที่มีประสิทธิภาพที่จะช่วยให้ธุรกิจสามารถปรับตัวได้และใช้กันอย่างแพร่หลายในบริษัทชั้นนํา

การคาดการณ์อนาคตเชิงกลยุทธ์ช่วยให้ธุรกิจปรับตัวได้ เนื่องจากเครื่องมือนี้ช่วยให้ธุรกิจมองไปข้างหน้าว่ามีปัจจัย อะไรที่จะเป็นโอกาสหรือส่งผลกระทบต่อธุรกิจเพื่อให้ธุรกิจได้มีเวลาในการเตรียมการดําเนินการต่อโอกาสใหม่ๆ หรือปัจจัยเสี่ยงที่คาดว่าจะเกิดขึ้น เป็นการเตรียมความพร้อมรองรับการเปลี่ยนแปลงในอนาคตได้อย่างทันเวลา (Future Readiness) การนําการคาดการณ์อนาคตเชิงกลยุทธ์มาปรับใช้ในองค์กรจึงเป็นสิ่งสําคัญที่จะทําให้ธุรกิจ ยังคงความสามารถในการแข่งขันได้ ปรับตัวได้ตามสภาพแวดล้อมทางธุรกิจที่เปลี่ยนแปลงไป สร้างความยั่งยืน ให้กับธุรกิจได้ นอกจากนี้การคาดการณ์อนาคตเชิงกลยุทธ์ยังทําให้การทําธุรกิจมีความครอบคลุมและแม่นยํามากขึ้นเนื่องจากต้องพิจารณาปัจจัยต่างๆที่เกี่ยวข้องและพิจารณาข้อมูลเชิงลึกของธุรกิจนั้นๆ

ถ้าจะให้นิยามของการคาดการณ์อนาคตเชิงกลยุทธ์ (Strategic Foresight) ก็คงจะหมายถึงกระบวนการที่สร้างความสามารถในการคาดการณ์และการเตรียมความพร้อมสําหรับอนาคต (Future Readiness) ให้กับองค์กรซึ่งต้องทําอย่างเป็นระบบและมีโครงสร้างที่ชัดเจน (structured and systematic) เพื่อช่วยให้องค์กรมี ความสามารถในการปรับตัว พร้อมรับการเปลี่ยนแปลงที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต ทั้งนี้กระบวนการในการคาดการณ์อนาคตเชิงกลยุทธ์เพื่อเตรียมความพร้อมองค์กรนั้นจะพิจารณาปัจจัยภายนอกที่อาจเป็นภัยคุกคามหรือโอกาสในมุมมองต่างๆ เช่น แนวโน้มทางเทคโนโลยี เศรษฐกิจ การเมือง และสิ่งแวดล้อม การใช้ข้อมูลขนาดใหญ่ (Big Data) ในการวิเคราะห์และสังเคราะห์เพื่อสร้างภาพอนาคตของสถานการณ์จําลอง (Scenario) ที่อาจเกิดขึ้นได้ใน หลากหลายรูปแบบและพัฒนาแนวทางรับมือกับการเปลี่ยนแปลงตามแต่ละสถานการณ์จําลองนั้น

ปกตกิารคาดการณอ์นาคตเชิงกลยุทธ์จะใช้ในสถานการณ์เฉพาะหรือเกิดจุดเปลี่ยนที่ส่งผลต่อธุรกิจเช่นการเปิดตัว ผลิตภัณฑ์ใหม่หรือการเข้ามาของคู่แข่งรายใหม่ในตลาด แต่ถ้าธุรกิจที่อยู่ในอุตสาหกรรมที่มีการเปลี่ยนแปลงสูง เช่น อุตสาหกรรมเทคโนโลยีขั้นสูงจะไม่สามารถติดตามสถานการณ์จําลองเฉพาะที่ได้ระบุไว้เท่านั้นแต่ควรดําเนินการอย่างต่อเนื่องและกลับมาพิจารณาซ้ําอย่างสม่ําเสมอ เพื่อหาสัญญาณของการเปลี่ยนแปลงหรือแสวงหาโอกาสจากการเปลี่ยนแปลงนั้นได้อย่างทันเวลา

กล่าวโดยสรุปการปรับตัวของภาคธุรกิจไทยในยุคที่มีสภาพแวดล้อมทางธุรกิจที่มีการเปลี่ยนแปลงสูงส่งผลให้วิถีชีวิตและความต้องการของผู้คนในสังคมปรับเปลี่ยนอย่างรวดเร็ว ธุรกิจไทยจึงมีความจําเป็นต้องนําการคาดการณ์อนาคตเชิงกลยุทธ์ (Strategic Foresight) มาปรับใช้ในองค์กรอย่างเหมาะสมเพื่อช่วยให้ธุรกิจมีการตัดสินใจเชิงกลยุทธ์มีครอบคลุมและมีความแม่นยํามากขึ้น โดยการพิจารณาทางเลือกที่หลากหลายและเตรียมความพร้อมสําหรับอนาคตที่ไม่แน่นอน นอกจากนี้ยังช่วยสร้างความยืดหยุ่นและการปรับตัวได้อย่างรวดเร็วต่อการเปลี่ยนแปลงของตลาดและสภาพแวดล้อมทางธุรกิจ

อ้างอิงจาก

1. JanO.Schwarz,BernhardWach,TheresaSchropp,FabianBuder.2023.Theworld’stop companies are using strategic foresight – you should too. World Economic Forum.