
วันที่ 23 กันยายน 2567 คณะอนุกรรมการแผนงาน INNOVATION DRIVEN ENTERPRISE : IDE ภายใต้หน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของประเทศ (บพข.) นำโดย นางจันทิรา ยิมเรวัต วิวัฒน์รัตน์ ประธานคณะอนุกรรมการฯ ได้เข้าร่วมประชุมติดตามความก้าวหน้าการดำเนินการของอุทยานวิทยาศาสตร์ภูมิภาค ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 2 (Regional Science Park Northeast 2) มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี ในรอบระยะเวลา 6 เดือน ณ ห้องประชุม A301 ชั้น 3 อาคารอำนวยการอุทยานวิทยาศาสตร์ภูมิภาค ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 2
อุทยานวิทยาศาสตร์ภูมิภาค ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 2 ในฐานะหน่วยงาน Intermediary ได้ดำเนินการโครงการการแพลตฟอร์มบริการเร่งการเติบโตด้วยนวัตกรรมแบบเปิดสำหรับผู้ประกอบการที่มีความพร้อมสู่ธุรกิจฐานนวัตกรรม (Open Innovation Acceleration Platform for Innovation-Driven Enterprises (IDEs)) เพื่อยกระดับ SMEไปสู่ IDE โดยผ่านกลไกของ Intermediary ในการให้บริการ โดยมีผู้ประกอบการเข้าร่วมทั้งสิ้น 5 ราย ประกอบไปด้วย บริษัท หมูเจริญ ฟู้ดเซอร์วิส จำกัด บริษัท บางกอก เฮลท์กรุ๊ป จำกัด บริษัท เค.พี. อะโกร โคราช จำกัด บริษัท เฮเว่น เฮิร์บ จำกัด และบริษัท ที-ไฟเบอร์ อินโนเวชั่น จำกัด โดย ผศ.ดร.ปภากร พิทยชวาล หัวหน้าหน่วยวิจัยนโยบายวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและนวัตกรรม สำนักวิชาวิศวกรมศาสตร์ และอาจารย์ ดร.วรรณภา นำบูรณะ หัวหน้าแพลตฟอร์มพัฒนาผู้ประกอบการของหน่วยวิจัยนโยบายวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม สำนักวิชาเทคโนโลยีสังคม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี ได้รายงานความก้าวหน้าการดำเนินการภาพรวมผลการดำเนินงานระยะ 6 เดือน ของ Intermediary และแผนกลยุทธ์ธุรกิจฉบับสมบูรณ์ของ IDE แต่ละรายที่เข้าร่วมโครงการ ซึ่ง IDE ได้จับคู่กับInnovation Business Development Services (IBDS) ที่เหมาะสมในด้านการพัฒนาธุรกิจ เทคโนโลยี และการตลาด เกิดพันธมิตรเชิงกลยุทธ์ของ IDE ทั้ง 5 บริษัท ที่ร่วมกันสนับสนุนการขยายการเติบโตของธุรกิจทั้งในด้านธุรกิจ การลงทุนในการพัฒนาเทคโนโลยี การต่อยอดเชิงนวัตกรรมที่เตรียมทดสอบกลุ่มตลาดใหม่ และพันธมิตรทางการค้าทั้งในและต่างประเทศ

ซึ่งทางอนุกรรมการฯ ได้รับทราบความก้าวหน้าของการดำเนินการโครงการ และได้ให้ข้อเสนอแนะต่อหน่วยงาน Intermediary ในประเด็นของวิสัยทัศน์ของบริษัทที่ต้องกำหนดเป้าหมายอย่างเป็นรูปธรรมและสามารถวัดผลได้จริง และนำวิสัยทัศน์ดังกล่าวไปกำหนดเป็นแผนกลยุทธ์ขององค์กรเพื่อให้บรรลุวิสัยทัศน์ต่อไป รวมถึงการวิเคราะห์ Core CompetencyและGrowth Driver ของบริษัทในเชิงลึกให้มากขึ้น และนำมาเป็นข้อมูลสำคัญในการกำหนด New Growth Strategy ที่ใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมในการขับเคลื่อนเพื่อสร้าง New S-Curve ของบริษัท และเพื่อให้มั่นใจได้ว่าจะบริษัทจะมีทิศทางการดำเนินงานในการส่งเสริมและสนับสนุนรายได้ของบริษัทให้ได้ตามเป้าหมายปี 2570 ได้อย่างแท้จริง
โดยวันที่ 24 กันยายน 2567 ทางมหาวิทยาลัยฯ ได้มีการนำเสนอบทบาทหน้าที่ของอุทยานวิทยาศาสตร์ภูมิภาคในการเป็นหน่วยงานที่สนับสนุน ส่งเสริม และพัฒนาผู้ประกอบการหรือภาคเอกชน โดยการนำองค์ความรู้ทั้งในและนอกมหาวิทยาลัย ด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม ผสานความเชื่อมโยงระหว่างภาครัฐ ภาคเอกชน ภาคการศึกษา และภาคชุมชนท้องถิ่น ซึ่งจะช่วยเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันให้กับธุรกิจและอุตสาหกรรม ตลอดจนผลักดันงานวิจัยของมหาวิทยาลัยสู่การใช้ประโยชน์เชิงพาณิชย์ รวมถึงได้พาคณะอนุกรรมการฯ เยี่ยมชมอุทยานวิทยาศาสตร์ภูมิภาค ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 2 โดยได้เยี่ยมชมการให้บริการโครงสร้างพื้นฐานและสิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับกิจกรรมวิจัยพัฒนาของภาคเอกชน โดยมีพื้นที่ห้องปฏิบัติการ มีเครื่องมือวิจัยคุณภาพสูง เพื่อให้เกิดธุรกิจฐานนวัตกรรมเพิ่มขึ้นในประเทศอย่างต่อเนื่อง ซึ่งเป็นกลไกพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม ทั้งในระดับพื้นที่ ระดับภาค และระดับประเทศ ผ่านเครือข่ายอุทยานวิทยาศาสตร์ภูมิภาค และเยี่ยมชมพื้นที่การให้บริการโรงงานต้นแบบไบโอรีไฟเนอรี (Biorefinery Pilot Plant) ศูนย์ความเป็นเลิศทางด้านชีวมวล (COE Biomass) และห้องปฏิบัติการทางด้านเกษตรและอาหาร


