เมื่อวันที่ 13 พฤษภาคม 2568 บริษัท ซีไอพี แวลู จำกัด ร่วมกับ บพข. และสถาบันระหว่างประเทศเพื่อการค้าและการพัฒนา (องค์การมหาชน) โดยนายเมธา จารัตนากร กรรมการผู้จัดการบริษัท ซีไอพี แวลู จำกัด ได้กล่าวเปิดงานและความคาดหวังการจัดงาน โดยมีเนื้อหาทั้งทางวิชาการและการพัฒนาคลัสเตอร์ ผลผลิตหลังการจัดงานจะได้กลยุทธ์ในการขับเคลื่อน IDE ในอนาคต รศ. ดร.ชาลีดา บรมพิชัยชาติกุล รักษาการรองผู้อำนวยการบริหารและจัดการทุนด้านการเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของประเทศ บพข. ได้กล่าวเปิดงาน



การสัมมนา ได้มีการแบ่งปันแนวทางกลยุทธ์การสร้างโอกาสใน Emerging Market ด้วยการพัฒนาคลัสเตอร์ IDEs โดยธุรกิจนวัตกรรม (IDE) มี Key Activity 6 ด้าน ได้แก่ Market Research, สำรวจ Trend เทคโนโลยี (Pent Land), ทรัพย์สินทางปัญญา (IP), Validate Business Model, Strategic Road Map ที่ผ่านมาการขยายตัวของธุรกิจ IDE มักถูกจำกัดด้วยขนาดตลาดในประเทศ หากไม่ขยายสู่ Global Market และใช้ FTA ให้เป็นการวิเคราะห์และพัฒนาธุรกิจ IDE ในเชิงปฏิบัติมี 6 ขั้นตอน ได้แก่ Business Practice, Existing Brand Knowledge Base/IP Permanent Activity (KM ที่สร้างรายได้) Finance (Revenue Track ใหม่) Innovation Content/Culture สิ่งเหล่านี้จะนำไปสู่การสร้าง Brand Identity ใหม่และการสร้าง Brand Loyalty ให้กับลูกค้า ซึ่ง IM และ IBDS มีบทบาทช่วย IDE พัฒนา Brand เติม Solution และหา IBDS เพื่อทำให้ Solution มีความน่าสนใจมากขึ้น
ทั้งนี้ การพัฒนา IDE ในโครงการจะช่วยให้ธุรกิจสามารถขยาย Product ใหม่ในตลาดเดิม หรือ Upscale ใน Existing Market และสร้าง Product ใหม่ในตลาดใหม่ ทั้งในประเทศและต่างประเทศ (Emerging Market) ปัจจัยสู่ความสำเร็จ (Success Factor) ในการนำผู้ประกอบการไปต่างประเทศ คือ มี Brand มีนวัตกรรมที่สร้างความแตกต่าง และมี Mindset เรื่อง Global Market พร้อม Solution ที่ยืดหยุ่นให้ Partner


โดยการไปต่างประเทศควรสร้างเครือข่ายและ Ecosystem ที่ส่งเสริม IDE ให้ไปด้วยกัน การสร้าง Cluster IDE ต้องหา Cluster Problem, Pool Resource ที่ใช้ร่วมกัน และมี Core Driver ผลลัพธ์คือได้ Roadmap กลยุทธ์คลัสเตอร์ Activity Plan และ Call Driver เป้าหมายของคลัสเตอร์คือการหาโจทย์ สร้างกลยุทธ์ และช่วยกันทำ ซึ่ง Key Take Away ในการสร้างคลัสเตอร์คือ การไปสู่ Global Scale มีกระบวนการสร้างอำนาจต่อรอง ด้วย Brand IP KM เพื่อหา Potential Partner หากไม่มีรูปแบบที่ดี การต่อรองในตลาดต่างประเทศจะยาก นอกจากนั้น เศรษฐกิจดิจิทอลเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับทุกเรื่อง (Cross Cutting) และอยู่ในชีวิตประจำวัน โดยความท้าทายของดิจิทอลคือ ทำให้คนที่ตามไม่ทันเสียโอกาส (Digital Divide) ภาวะการค้าโลกและตลาดใหม่ และกลยุทธ์การปรับตัวและมองไปข้างหน้า

นอกจากนั้นในงานมีกิจกรรม การเสวนาหัวข้อ กลยุทธ์และการปรับตัวของภาคธุรกิจและผู้ประกอบการภายใต้นโยบายเศรษฐกิจดิจิทัล โดยมีคุณสิริกาญจน์ ประเสริฐยิ่ง ผู้อำนวยการสำนักความร่วมมือระหว่างประเทศ คุณศุภกร สิทธิไชย จาก DEPA และผศ.ดร.สินีนาฎ เสริมชีพ ผู้อำนวยการศูนย์อาเซียนศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ซึ่งเป็นการพูดคุยในประเด็นความท้าทายที่ผู้ประกอบการต้องเจอ การส่งเสริมของรัฐเพื่อให้ผู้ประกอบการแข่งขันในเศรษฐกิจดิจิทัลได้ ความจำเป็นที่ผู้ประกอบการไทยต้องปรับตัวสู่เทคโนโลยีดิจิทัล ทั้งพฤติกรรมผู้บริโภคที่เปลี่ยนแปลง เทคโนโลยีดิจิทัลเป็นเครื่องมือเพิ่มประสิทธิภาพ


และการเสวนาหัวข้อ Global Market Ecosystem และประเด็น Insight ที่ส่งผลต่อความสำเร็จในการเข้าสู่ตลาดต่างประเทศ โดยมีตัวแทนจาก 4 หน่วยงาน ได้แก่ คุณกฤษฎี จำลองราษฎร์ กองสารสนเทศเศรษฐกิจ กรมเศรษฐกิจระหว่างประเทศ คุณวรวรรณ วรรณวิล ผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ กรุงกัวลาลัมเปอร์ ร.ดร.ชาลีดา บรมพิชัยชาติกุล รักษาการรองผู้อำนวยการและผู้บริหารแผนงาน IDEs คุณสมเกียรติ กิตติธรสมบัติ กรรมการผู้จัดการบริษัทบุณยเกียรติ ไอศกรีม จำกัด (IDEs) ซึ่งมาร่วมแลกเปลี่ยนและให้ข้อมูลบทบาทของหน่วยงานในการให้บริการผู้ประกอบการ และโครงการสนับสนุนของ บพข. ตลอดจนการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ของ บริษัทบุณยเกียรติ ไอศกรีม จำกัด (IDEs) ที่เข้าร่วมโครงการ


โดยในช่วงเย็น มีการจัดประชุม Workshop โดยแบ่งกลุ่มหน่วยงานตัวกลาง (Intermediary) และ IDEs ตามประเภทของอุตสาหกรรม เพื่อร่วมวิเคราะห์ Value Chain และวางกลยุทธ์ในการร่วมสร้างการขับเคลื่อนคลัสเตอร์ ซึ่งจะเป็นประโยชน์ที่จะช่วยให้เข้าใจภาพใหญ่ในการส่งเสริมพัฒนามากขึ้นต่อไป
