การวาง BMC เพียงอย่างเดียวไม่พอ หากไม่มีการตั้งคำถามอย่างลึกซึ้งและกำหนดเป้าหมายร่วมกัน – สถาบันวิจัยโลหะและวัสดุ จุฬาฯ ใช้บทบาท Intermediary ขับเคลื่อนธุรกิจไทยผ่านเครื่องมือกลยุทธ์และวิธีคิดใหม่ที่นำไปใช้ได้จริง

  • กิจกรรม IM Capacity Building เปลี่ยนวิธีคิดของทีม Intermediary
  • เน้นสร้าง “คุณสุภาษณ์ สรุปสโลแกน” เป็นทักษะที่ช่วยให้ผู้ประกอบการเห็นภาพรวม
  • ใช้ Business Model Canvas (BMC) อย่างลึกซึ้งผ่านเวิร์กช็อปเชิงกลยุทธ์
  • ช่วยผลักดันบริษัทจากเป้าหมายเล็ก ๆ ไปสู่การวางวิสัยทัศน์ที่มีโอกาสเกิดจริง

         สถาบันวิจัยโลหะและวัสดุ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็น Intermediary ที่ไม่ได้มุ่งเพียงแค่ให้คำปรึกษาทางเทคโนโลยี แต่เลือกพัฒนา “กลไกทางความคิด” ให้กับผู้ประกอบการที่เข้าร่วมโครงการ Innovation Driven Enterprises (IDEs) เพื่อวางรากฐานของการเติบโตระยะยาว

🗣️ “สิ่งที่ผมได้จาก IM Capacity Building คือวิธีการตั้งคำถามที่ดี เพื่อทำให้ BMC แต่ละบริษัท กลายเป็นเครื่องมือที่สร้างการเปลี่ยนแปลงได้จริง”
— ศ.ดร.ยุทธนันท์ บุญยงมนีรัตน์, หัวหน้าโครงการ

จากกิจกรรมอบรมเชิงลึก IM Capacity Building ที่จัดโดย บพข. ทำให้ทีมจุฬาฯ ได้พัฒนาแนวทางการตั้งคำถามที่แม่นยำขึ้น โดยเฉพาะเทคนิค “คุณสุภาษณ์ สรุปสโลแกน” ที่ช่วยให้วิสัยทัศน์และพันธกิจของบริษัทต่าง ๆ ที่เคยคลุมเครือ กลายเป็นเป้าหมายที่จับต้องได้ และสามารถแปลงสู่กลยุทธ์ธุรกิจที่สื่อสารต่อได้ง่าย

ในเวิร์กช็อปแต่ละครั้ง ทีม Intermediary จากจุฬาฯ ไม่เพียงแต่นำเสนอ BMC ตามกรอบ แต่ยังทำให้ผู้ประกอบการได้ “เห็นช่องว่างในแผนเดิม” และเปิดมุมมองใหม่ในการขยายเป้าหมายจาก 1 → 3 → 10 ด้วยความมั่นใจ

#ScalingUp #IDEprogram #PMUC 🚀